แนะนำศิษย์เก่าของโรงเรียนการเรือน รหัส 60 คุณลาภิศ ศรีวรพันธุ์

แนะนำศิษย์เก่าของโรงเรียนการเรือน รหัส 60 คุณลาภิศ ศรีวรพันธุ์

แนะนำศิษย์เก่าของโรงเรียนการเรือน รหัส 60 คุณลาภิศ ศรีวรพันธุ์ ศิษย์เก่าหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำงาน : ร้าน Paul Bakery Thailand ในตำแหน่ง : Commis ผลงานระหว่างการศึกษา : – ผู้ช่วยวิทยากรทางด้านอาหาร/งานแกะสลัก/จัดดอกไม้ – ช่วยจัดแสดงบูธทางด้านคหกรรมศาสตร์ ความถนัด / ความเชี่ยวชาญ : เครื่องหอม / งานใบตอง / แกะสลักผักและผลไม้ / งานจัดดอกไม้ / อาหารไทย / ของว่าง / เบเกอรี

แนะนำศิษย์เก่าของโรงเรียนการเรือน รหัส 60 คุณณิชากร ต้อยติ่ง

แนะนำศิษย์เก่าของโรงเรียนการเรือน รหัส 60 คุณณิชากร ต้อยติ่ง

แนะนำศิษย์เก่าของโรงเรียนการเรือน รหัส 60 คุณณิชากร ต้อยติ่งศิษย์เก่าหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ : บริษัท Ido Fruitaในตำแหน่ง : Assistant Decoration ผลงานระหว่างการศึกษา : รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดทักษะฝีมือการเรือน เมนูเเข่งข้าวเเช่ ความถนัด / ความเชี่ยวชาญ : ด้านการวาดภาพศิลปะ / จัดดอกไม้

วิธีจัดการความเครียด

วิธีจัดการความเครียด

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือนประจำวันที่ 24 เมษายน 2568  หากเรารู้วิธีจัดการและบรรเทาความเครียดต่าง ๆ เหล่านั้นได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้เราพร้อมรับมือกับความเครียดได้มากขึ้น มาดูวิธีจัดการความเครียดง่าย ๆ กันว่ามีอะไรบ้าง(1). นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด เอาใจไปโฟกัสการกำหนดลมหายใจ ก็ทำให้เราลืมเรื่องเครียด ๆ ได้(2). ออกกำลังกาย คลายเครียด เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเครียด ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) จะทำงานอย่างหนัก เราสามารถแก้ได้โดยการให้ฮอร์โมนเอนดอร์ฟีนทำงานบ้าง ด้วยการออกกำลังกาย(3). จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน Work Life Balance นอกจากการจัดสรรเวลาการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวให้ดี จะช่วยให้ชีวิตส่วนตัวดีขึ้น(4). ผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง แน่นอนว่าช่วยให้สมองปลอดโปร่ง และอาจทำให้เรากลับมาคิดแก้ไขปัญหาหรือเรื่องเครียดได้ด้วย(5). ปรับเปลี่ยนความคิด มองข้ามเรื่องเล็กน้อยและยอมรับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้

อบรมในหัวข้อเรื่อง “เมนูอร่อยจากดอกไม้”

อบรมในหัวข้อเรื่อง “เมนูอร่อยจากดอกไม้”

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการพัฒนายกระดับทักษะวิชาชีพและการสร้างทักษะวิชาชีพใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงานเพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาการทำงานในอนาคต โดยอบรมในหัวข้อเรื่อง “เมนูอร่อยจากดอกไม้” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ปัญญภัสก์ ปิ่นแก้ว ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อผู้ประกอบการอาหาร เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดความรู้ในการประกอบอาหารในเมนูบัวลอยกึ่งสำเร็จรูป การสกัดสารสีจากดอกอัญชัน ชาจากดอกไม้ และบัวลอย การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพในด้านการประกอบอาหารและงานคหกรรมศาสตร์ การเลือกใช้วัตถุดิบ รวมถึงด้านเทคนิคขั้นตอนการ เตรียมวัตถุดิบ และเคล็ดลับต่าง ๆ เพื่อสร้างทักษะวิชาชีพด้านการประกอบอาหารและงานคหกรรมศาสตร์ สำหรับกลุ่มคนที่ยังไม่มีทักษะและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 เวลา 17.00-18.00 น. รูปแบบ Online ผ่านระบบ Microsoft Teams

บวมน้ำจาก “โซเดียม” ต้องจัดการยังไงดี?

บวมน้ำจาก “โซเดียม” ต้องจัดการยังไงดี?

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือนประจำวันที่ 23 เมษายน 2568 บวมน้ำจาก “โซเดียม” ต้องจัดการยังไงดี?ถ้ารู้สึกตัวบวม หน้าบวม ตัวบวมหลังมื้ออาหาร ลองสังเกตดูว่าคุณได้รับ โซเดียมสูง จากอาหารรึเปล่า?ซึ่งเราสามารถลดอาการบวมน้ำได้ง่าย ๆ ด้วยอาหารที่มี “โพแทสเซียม” และ “ไฟเบอร์” สูง!  9 ตัวช่วยลดบวมน้ำจากโซเดียมที่ควรมีติดบ้าน! กล้วย – มีโพแทสเซียม ช่วยขับโซเดียม กีวี – เส้นใยสูง ช่วยย่อยอาหาร อะโวคาโด – ควบคุมความดันโลหิต ผักใบเขียว – โพแทสเซียมสูง ไฟเบอร์สูง ถั่วขาว – มีโพแทสเซียม โปรตีน ไฟเบอร์ ไบเกรน – มีไฟเบอร์และโพรไบโอติกส์ น้ำมะพร้าว – แร่ธาตุสูง สดชื่น ชาขิง – ลดอักเสบ กระตุ้นการขับของเสีย ชาเขียวมินต์ – สดชื่น ลดการบวมน้ำ เคล็ดลับง่าย ๆ: หลังมื้ออาหารเค็ม ๆ อย่าลืมจิบน้ำให้มาก และเติมอาหารเหล่านี้เข้าไป ร่างกายจะได้บาลานซ์กลับมาไว ๆ

ลูกค้ารู้สึกว่า ” รอไม่นาน “ ด้วยหลักจิตวิทยา Psychology of Waiting

ลูกค้ารู้สึกว่า ” รอไม่นาน “ ด้วยหลักจิตวิทยา Psychology of Waiting

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้โรงเรียนการเรือนประจำวันที่ 22 เมษายน 2568 ลูกค้ารู้สึกว่า ” รอไม่นาน “ ด้วยหลักจิตวิทยา Psychology of Waitingโดยหลักการง่าย ๆ ในการปรับเปลี่ยนการรับรู้ของลูกค้าที่กำลังรอคิวอยู่ก็คือการปรับ Customer Experince นั่นเอง สาเหตุก็เพราะว่า ระยะเวลาในการรอ อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นปัญหาหลัก แต่ปัญหาหลักนั้นอยู่ที่ต้องรอจนถึงเมื่อไหร่ และระหว่างรอนั้นมีความน่าเบื่อหรือเคว้งคว้างมากน้อยแค่ไหนมากกว่า มีดังนี้1 . มีเลขลำดับคิวชัดเจน2 . เสนอกิจกรรมระหว่างรอคิว3 . ปรับวิธีการรับออเดอร์4 . เสิร์ฟอาหารทานเล่นแก้เบื่อ5 . ลูกค้าเช็คสถานะคิวได้6 . ส่งท้ายการบริการให้น่าจดจำ

จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น

จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือนประจำวันที่ 20 เมษายน 2568 จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น Japanese Service Spirit เป็นความคิดเชิงวัฒนธรรมที่เน้นความใส่ใจในการให้บริการที่มีคุณภาพสูงและความตั้งใจในการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า มีรากฐานมาจากแนวคิดซึ่งเกิดขึ้นในวัฒนธรรมญี่ปุ่นและกลุ่มธุรกิจญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญในความเอื้ออำนวยและความพึงพอใจของลูกค้า ดังนี้1. ความซื่อสัตย์และความสามารถในการตอบสนอง2. การให้ความสำคัญในการติดต่อสื่อสาร3. การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า4. ความสงบและความเอาใจใส่5. การศึกษาและการพัฒนาบุคลากร6. ความรับผิดชอบและความเข้าใจความต้องการของลูกค้า

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ระบบ TCAS ปีการศึกษา 2568 รอบที่ 2 Quota

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ระบบ TCAS ปีการศึกษา 2568 รอบที่ 2 Quota

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ระบบ TCAS ปีการศึกษา 2568 รอบที่ 2 Quota โดยมี ผศ. ว่าที่ ร.ต. ดร.ธนพัฒน์ แสงรุ่งเรือง คณบดีโรงเรียนการเรือน เป็นประธานในการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดสอบสัมภาษณ์ มีประธานหลักสูตร และคณาจารย์จากทุกหลักสูตร ทั้งที่จัดการเรียนที่กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษา ตรัง และศูนย์การศึกษา ลำปาง ร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ การดำเนินการครั้งนี้ขอขอบพระคุณคณบดีโรงเรียนการเรือนและศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารนานาชาติ อำนวยความสะดวกและสนับสนุนอาหารและเครื่องดื่มให้แก่นักเรียนที่เข้ามาสัมภาษณ์ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงาน จัดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2568 ณ Hall 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Food Coma อาการง่วงหลังมื้ออาหาร

Food Coma อาการง่วงหลังมื้ออาหาร

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือนประจำวันที่ 19 เมษายน 2568 “ Food Coma “ อาการง่วงหลังมื้ออาหาร  ฟู้ดโคม่า (Food Coma) หรือ Postprandial somnolence เป็นอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน อาการนี้มักเกิดในช่วงหลังมื้อกลางวัน และยิ่งถ้าเป็นอาหารกลางวันมื้อใหญ่ จัดเต็มทั้งคาวหวาน ยิ่งทำให้อาการฟู้ดโคม่านั้นรุนแรงขึ้น อาการนี้ไม่ได้มีอันตรายอะไรต่อสุขภาพร่างกาย แต่สร้างความรำคาญ อาจทำให้ไม่มีสมาธิ และลดประสิทธิภาพการทำงาน

คลับอาหารการกิน SDU พูดคุยในหัวข้อเรื่อง จากถั่วสู่จาน : เส้นทางความอร่อยของ “เทมเป้” อาหาร เพื่อสุขภาพ

คลับอาหารการกิน SDU พูดคุยในหัวข้อเรื่อง จากถั่วสู่จาน : เส้นทางความอร่อยของ “เทมเป้” อาหาร เพื่อสุขภาพ

 ขอประชาสัมพันธ์ Clubhouse คลับอาหารการกิน SDU  พูดคุยในหัวข้อเรื่อง จากถั่วสู่จาน : เส้นทางความอร่อยของ “เทมเป้” อาหาร เพื่อสุขภาพ วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2568 เวลา 19.00 – 20.00 น. สัปดาห์นี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อผู้ประกอบการอาหารมาร่วมฟังร่วมแชร์เรื่องราวไปด้วยกันพบกันที่คลับอาหารการกิน SDU ทุ่มตรงไทยแลนด์ https://www.clubhouse.com/…/7V7iKqyzWww58B2Ezrblv1zAbbg…