ทำไม “มอลต์ 100%” ถึงสำคัญ
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้
โรงเรียนการเรือน
ประจำวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568
ทำไม “มอลต์ 100%” ถึงสำคัญ
“มอลต์ (Malt)” ไม่ใช่ธัญพืช แต่คือกระบวนการสำคัญ ที่เรียกว่า มอลต์ติง (Malting) ไม่ได้หมายถึงข้าวบาร์เลย์ธรรมดา แต่คือ ผลผลิตที่ได้จากการนำข้าวบาร์เลย์ไปผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “มอลต์ติง (Malting)” กระบวนการนี้ไม่เพียงแค่ทำให้เมล็ดงอก แต่ยังเปลี่ยนคุณสมบัติภายในให้พร้อมสำหรับการหมัก และเป็นตัวกำหนดทั้ง สี กลิ่น และรส ของเบียร์
กว่าจะได้มอลต์คุณภาพดีที่ใช้ในเบียร์เยอรมัน ข้าวบาร์เลย์ต้องผ่านกระบวนการมอลต์ติง (Malting) ที่พิถีพิถันถึง 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การแช่เมล็ด (Steeping)
ข้าวบาร์เลย์คุณภาพสูงจะถูกแช่น้ำสะอาด เพื่อให้เมล็ดเริ่มดูดซับน้ำและตื่นตัว
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน โดยระดับความชื้นในเมล็ดจะเพิ่มขึ้นจนพร้อมสำหรับการงอก
2. การงอก (Germination)
เมล็ดเริ่มงอกออกเป็นรากเล็ก ๆ และในขั้นตอนนี้ เอนไซม์ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลมอลโทส โดยจะใช้เวลา 4-5 วัน และควบคุมอุณหภูมิอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เมล็ดร้อนเกินไป
3. การอบแห้ง (Kilning หรือ Drying)
มอลต์ (Green Malt) ที่ได้จากการงอกจะถูกนำไปอบแห้งในเตาอบ เพื่อหยุดการงอกและเพิ่มกลิ่น รสชาติ และสี ระดับการคั่วของมอลต์ในขั้นตอนนี้จะกำหนดว่าเบียร์จะมีรสชาติแบบใด อย่างเช่น
มอลต์คั่วอ่อน (Pale Malt) – ให้รสชาติ กลมกล่อม สดชื่น ก็จะออกมาเป็นเบียร์สีอ่อนอย่างเบียร์ Lager
มอลต์คั่วเข้ม (Roasted Malt) – ให้รสชาติ ลึก ขมนิด ๆ ปนกลิ่นไหม้คาราเมล ก็จะออกมาเป็นเบียร์สีเข้มอย่างเบียร์ Dunkel
