ประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาจาก CP Axtra (โลตัส)
ประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาจาก CP Axtra (โลตัส)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
คุณเอ็ม โทร. 062-9850951

ประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาจาก CP Axtra (โลตัส)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
คุณเอ็ม โทร. 062-9850951
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือนประจำวันที่ 26 มีนาคม 2568 หอมหมื่นลี้ “กุ้ยฮวา” ดอกไม้มงคลในตำนานมากด้วยสรรพคุณ ดอกกุ้ยฮวา หรือ ดอกหอมหมื่นลี้ เป็นหนึ่งในดอกไม้ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน ด้วยกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ ส่งกลิ่นหอมไกลหลายเมตรและยาวนานจึงถูกขนานนามว่าเป็นดอกหอมหมื่นลี้ ตำนานของชาวจีนกล่าวกันว่าต้นของดอกกุ้ยฮวาเป็นต้นไม้ที่อยู่บนดวงจันทร์ แม้จะถูกตัดไปก็สามารถฟื้นคืนชีพได้ จัดเป็นต้นไม้วิเศษและมงคลอย่างยิ่ง ด้วยกลิ่นหอมของดอกกุ้ยฮวาจึงมักถูกใช้เพื่อประกอบอาหารต่างๆ เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมกุ้ยฮวาเกา นำไปผสมกับน้ำผึ้ง ทำเป็นชาดอกกุ้ยฮวา หรือ หมักกับสุราจีนเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมชวนให้น่าดื่มอย่างยิ่ง กลิ่นหอมของดอกกุ้ยฮวาช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียดและอาการนอนไม่หลับ สรรพคุณมีฤทธิ์บำรุงหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตและบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะอีกด้วย
มา เพิ่มไขมันดี และ ลดไขมันเลว กันดีกว่า ในร่างกายของเราประกอบไปด้วยไขมันหลายขนาด แต่ที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ ไขมันดี ไขมันเลว โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อาจจะเคยโดนคุณหมอ ให้กลับมาควบคุมไขมันกันถ้วนหน้า ไขมันดี และ ไขมันเลว เกิดจากอาหารที่เราได้กินเข้าไปทั้งนั้น เราควรเลือกกินอาหาร และหมั่นตรวจวัดระดับไขมันอยู่เสมอ จะทำให้คุณมั่นใจว่า ไขมันดี และ ไขมันเลว ในร่างกาย อยู่ในปริมาณเหมาะสมไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ไขมันเลว คือ ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ มาลดความเสี่ยงจาก ไขมันเลว และเพิ่มไขมันดี ไปด้วยกัน
“ประเภทเกลือและชนิดของเกลือที่นิยมใช้ปรุงอาหาร” เกลือเป็นเหนึ่งในครื่องปรุงที่เก่าแก่ หาง่ายที่สุด และมีการใช้แพร่หลายที่สุด มีการค้นพบว่ามนุษย์เริ่มผลิตเกลือปรุงอาหารครั้งแรกเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว ชนิดของเกลือมีหลากหลายประเภท มักมีคนสงสัยว่าเกลือมีกี่ชนิด เกลือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยการระเหยน้ำทะเล แม้จะมีความเค็มและจะใช้ปรุงอาหาร ใช้ดองอาหาร ใช้โรยอาหาร พร้อมกับถนอมอาหารได้ตามความต้องการ แต่เกลือแต่ละชนิดนั้นมีรสชาติและความเค็มไม่เหมือนกันเนื่องจากเกลือแต่ละประเภทแต่ละชนิดมีองค์ประกอบเคมีที่แตกต่างกันรวมทั้งถิ่นกำเนิดที่แตกต่างกัน โดยการบริโภคเกลือนั้น ไม่ควรบริโภคให้ปริมาณโซเดียมรวมทั้งวันเกินวันละ 2400 มิลลิกรัม (อ้างอิงคามมาตรฐาน THAI RDI) ซึ่งพบว่าประชากรส่วนใหญ่บริโภคเกินซึ่งจะทำให้เกิดโรคความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตตามมา ประเภทเกลือที่เป็นที่นิยมสามารถแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้ 1. เกลือบริโภค (Table Salt) เกลือบริโภค เป็นประเภทเกลือที่มีการบริโภคมากที่สุด เป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ เม็ดร่วนแห้ง สีขาวสะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ มีรสชาติเค็ม นิยมใช้ปรุงอาหาร มีโซเดียมค่อนข้างสูง ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุง หมักดอง อบอาหาร ฯลฯ อย่างไรก็ดี จะต้องเก็บในที่ร่มและแห้ง ไม่ให้ชื้นเพื่อคงคุณภาพของเกลือเอาไว้ อาจมีการเติมไอโอดีนเข้าไปด้วย รับประทานแต่พอดีช่วยป้องกันโรคคอหอยพอกได้ มีความเค็มใกล้เคียงเกลือทะเล 2. เกลือทะเล…
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 28 มกราคม 2568 “ฉลองตรุษจีนแบบรักษ์โลก” “วันตรุษจีน“ โดยปกติแล้ว ครอบครัวชาวจีนมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ เป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง เพื่อส่งไปให้ผู้ล่วงลับ รวมถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีสาเหตุทำลายสิ่งแวดล้อมแฝงอยู่ในกิจกรรมที่อาจนึกไม่ถึง วันนี้จึงขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ที่สามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567 อหิวาตกโรค (Cholera)ในอดีตเรียกว่า “โรคป่วงใหญ่” หรือ “โรคห่า” หรือ “โรคลงราก” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Vibrio Cholerae ได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนแบคทีเรียชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำสีซาวข้าว รวมถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียนส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การเกิดภาวะขาดน้ำ กรณีที่รุนแรงอาจเกิดอาการช็อค ส่งผลต่อชีวิตได้ อหิวาตกโรค ส่วนใหญ่พบการระบาดในพื้นที่ที่มีการจัดการด้านสุขาภิบาลไม่ดี สาเหตุมาจากการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังการเข้าห้องน้ำ การประกอบอาหาร หรือการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เราสามารถป้องกันได้ด้วย การรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ มีการจัดการขยะ และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2567 “กล่องใส่อาหาร” แบบใดเข้าไมโครเวฟ ได้บ้าง การใช้กล่องใส่อาหารได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสะดวกในการเก็บ และอุ่นอาหารแต่หลายคนสงสัยว่า กล่องใส่อาหารประเภทไหนที่ปลอดภัยสำหรับการใช้ในไมโครเวฟได้ กล่องที่เข้าไมโครเวฟ “ได้” 1.กล่องอาหารพลาสติก HDPE(High-Density Polyethylene) และพลาสติก Polypropylene (PP) 2.กล่องอาหารแก้ว 3.กล่องอาหารกระดาษ กล่องที่เข้าไมโครเวฟ “ไม่ได้” 1.กล่องอาหารพลาสติก (พอลิสไตรีนโฟม Polystyrene Foam และOPS) 2.กล่องใส่อาหารที่ทำจากโลหะ