ในแต่ละวัน ร่างกายควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม โดยเทียบกับน้ำปลา คือ ไม่เกิน 4 ช้อนชา การ ‘กินเค็ม’ หรือได้รับโซเดียมจากอาหารมากเกิน อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น โดยปกติแล้วร่างกายจะได้รับโซเดียมจากเกลือ และโซเดียมยังแฝงอยู่ในอาหารอีกหลายประเภท เช่น เครื่องปรุงรสชนิดต่าง ๆ , อาหารแปรรูป/อาหารสำเร็จรูปแนวทางการปรับพฤติกรรมเพื่อลดการกินเค็มและโซเดียม1. เลือกรับประทานอาหารสดตามธรรมชาติ และเลือกใช้เครื่องปรุงรสให้น้อยที่สุด หรือเลือกเครื่องปรุงชนิดโซเดียมต่ำ (Low Sodium)2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว และเบเกอรี่ ทุกชนิด3. ปรับนิสัยการรับประทานอาหาร ฝึกการรับประทานอาหารรสจืด เพื่อลดการเติมเครื่องปรุงรสต่าง ๆดังนั้น การลดการกินเค็มที่ดี คือ การปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม เน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่กินอาหารรสจัด และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี