Month: November 2023

“SUSTAINABLE FOOD การกินอาหารอย่างยั่งยืน”

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 “SUSTAINABLE FOOD การกินอาหารอย่างยั่งยืน” SUSTAINABLE FOOD การกินอาหารอย่างยั่งยืน หมายถึง วิธีการเตรียมอาหารในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และท้ายที่สุดต่อโลกทั้งใบ ตัวอย่างวิธีการปรุงอาหารอย่างยั่งยืน – ควรใส่ใจกับการซื้ออาหารในปริมาณที่จะใช้จริง ๆ เท่านั้น – กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง – ใช้น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำผึ้ง หญ้าหวาน – ไม่ทิ้งอาหารให้เหลือทิ้ง และนำของเหลือมาใช้ซ้ำ – ตรวจสอบตู้เย็นและใช้อาหารที่ใกล้หมดอายุ – ปรุงเฉพาะสิ่งที่จะทานเท่านั้น

เทคนิคใช้วัตถุดิบที่มีให้คุ้มค่า “เปลี่ยนขยะให้เป็นอาหาร”

ขอประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เทคนิคใช้วัตถุดิบที่มีให้คุ้มค่า “เปลี่ยนขยะให้เป็นอาหาร” 1.ใช้วัตถุดิบทุกส่วน เป็นภูมิปัญญาของคนไทยแต่โบราณ เช่น เนื้อสัตว์ นำมาทำอาหารตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมไปถึงเครื่องใน อย่างไส้ ตับ ม้าม ส่วนผักและผลไม้ก็ใช้ยันเปลือก เลือกปอกส่วนที่แข็งจนไม่สามารถกินได้ออกไป ใช้ส่วนเนื้อสีขาวติดเปลือก เช่น เปลือกแตงโม เปลือกแคนตาลูป เปลือกส้มโอ 2.นำวัตถุดิบไปถนอมอาหาร เก็บไว้ได้นาน “การถนอมหรือแปรรูปอาหาร เป็นวิธีเก็บรักษาอาหารไว้ให้อยู่ได้นาน เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับวัตถุดิบที่เหลือ ได้แก่ -การทำให้แห้งหรือลดความชื้น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย -การใช้ความร้อน แบ่งเป็น 2 ระดับ แบบพลาสเจอไรซ์ ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 100 °C และแบบสเตอริไลซ์ ใช้ความร้อนสูงกว่าจุดเดือด ประมาณ 100-130 °C -การหมักดอง ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของวัตถุดิบต่ำลง มีรสเปรี้ยว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต -การใช้สารเคมีเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้นานขึ้น สารที่นิยมใช้ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล สารกันเสีย […]

“Green Eating” กับ 7 วิถีการกินที่ดีต่อสุขภาพและ (รักษ์) โลก

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 “Green Eating” กับ 7 วิถีการกินที่ดีต่อสุขภาพและ (รักษ์) โลก หลายคนอาจจะเข้าใจว่า “Green Eating” เป็นการจัดสรรการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือยังช่วยเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ อาทิ หลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ หรืออุดหนุนร้านที่ใช้คอนเซ็ปต์รักษ์โลก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำให้โลกใบใหญ่ของเราดีขึ้นได้

โรงเรียนการเรือน ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรสายวิชาการ

โรงเรียนการเรือน ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรสายวิชาการ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2023) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นำทีมโดย ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ อาจารย์โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับรางวัลจำนวนรวมทั้งสิ้น 4 รางวัล ได้แก่ 1) รางวัลเหรียญเงิน จากผลงาน “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมจากผักใบเขียว” โดย ผศ.ดร.ฐิตา ฟูเผ่า 2) รางวัลเหรียญทองแดง และรางวัลเชิดชูเกียรติ จากผลงาน “ผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้พร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ” โดย ผศ.อรรถ ขันสี และ 3) รางวัลเหรียญทองแดง จากผลงาน “ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเสริมพรีไบโอติกจากแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ” โดย ผศ.ดร.มนฤทัย ศรีทองเกิด

Clubhouse คลับอาหารการกินSDU พูดคุยในหัวข้อ “เนื้อปลากะพงผัดพริกสด” 

Clubhouse คลับอาหารการกินSDU พูดคุยในหัวข้อ “เนื้อปลากะพงผัดพริกสด”  วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 19.00-20.30 น. (sparkle) สัปดาห์นี้ได้รับเกียรติจาก คุณเอกวุฒิ ชินโสภณพันธ์ เจ้าของร้านอาหารฮกกี่เหลา ตะกั่วป่า พังงา มาร่วมฟังร่วมแชร์เรื่องราวความอร่อยไปด้วยกัน  พบกันที่คลับอาหารการกิน SDU ทุ่มตรงไทยแลนด์ https://www.clubhouse.com/invite/Wo8DZ14G

ทำไมการกินอาหารให้หมดถึงช่วยลดโลกร้อนได้?

ขอประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ทำไมการกินอาหารให้หมดถึงช่วยลดโลกร้อนได้?  เพราะเศษอาหารจะกลายเป็นขยะอินทรีย์ เมื่อนำไปฝังกลบจะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์และมีเทน โดยก๊าซมีเทนส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเรือนกระจกดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าเดิม กองขยะที่มีปริมาณขยะอาหารมากจะยิ่งเป็นกองขยะที่ปล่อยมลพิษมากตามไปด้วย ดังนั้น การกินอาหารให้หมดจึงจะช่วยลดโลกร้อนได้นั้นเอง

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ทุกท่าน

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ทุกท่าน . ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในงาน “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2023) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี . ทั้งนี้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้รับรางวัลจำนวนรวมทั้งสิ้น 6 รางวัล ได้แก่รางวัลเหรียญเงิน 2 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง 2 รางวัล รางวัลเชิดชูเกียรติ​ 2 รางวัล​ จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปจัดแสดงทั้งสิ้น 4 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมจากผักใบเขียว” โดย ผศ.ดร.ฐิตา ฟูเผ่า ผลงาน “ผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้พร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ” โดย ผศ.อรรถ ขันสี ผลงาน “ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเสริมพรีไบโอติกจากแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ” โดย ผศ.ดร.มนฤทัย ศรีทองเกิด และผลงาน “ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเสริมสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกากชีวมวลสาหร่ายสไปรูลิน่า” โดย ผศ.อมรรัตน์ […]

5 วิธีง่ายๆ กินอย่างไรให้คุ้มค่า ไม่เหลือทิ้ง

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 5 วิธีง่ายๆ กินอย่างไรให้คุ้มค่า ไม่เหลือทิ้ง 5 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนทานข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้วและลดการสร้างปริมาณขยะจากเศษอาหารได้อย่างดี และมองเห็นคุณของอาหารใน 1 จานมากขึ้น เห็นคุณค่าของอาหาร ไม่กินทิ้งกินขว้างมากขึ้น ไม่ทำให้กลายเป็นขยะเศษอาหารที่ส่งผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสั่นคลอนความมั่นคงทางอาหารในอนาคตดังนี้ 1.ตักน้อย เติมบ่อย 2.กินกับเพื่อนอร่อยกว่าเยอะ 3.กินไม่หมด…แบ่งครึ่ง 4.เลือกจานใบเล็กลง 5.พกกระบอกน้ำส่วนตัว เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดเศษขยะจากอาหารและช่วยสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ

อบรมในหัวข้อเรื่อง รวมรสขนมไทยพื้นบ้าน

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการพัฒนายกระดับทักษะวิชาชีพและการสร้างทักษะวิชาชีพใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงานเพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาการทำงานในอนาคต โดยอบรมในหัวข้อเรื่อง รวมรสขนมไทยพื้นบ้าน” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ราตรี เมฆวิลัย อาจารย์ประจำโรงเรียนการเรืิอน ศูนย์การศึกษา ลำปาง เป็นวิทยากรอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องอาหารและการทำเมนู ขนมสอดไส้ ข้าวเหนียวดำเปียกมะพร้าวอ่อน กล้วยไข่เชื่อม การอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพในด้านการประกอบอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบ รวมถึงด้านเทคนิค ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และเคล็ดลับในการทำอาหาร เพื่อสร้างทักษะวิชาชีพด้านการประกอบอาหาร สำหรับกลุ่มคนที่ยังไม่มีทักษะ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.00-18.00 น. รูปแบบ Online ผ่านระบบ Microsoft Teams

5 วิธีลดขยะอาหารในครัวเรือน ลดโลกร้อน

ขอประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ โรงเรียนการเรือน ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 5 วิธีลดขยะอาหารในครัวเรือน ลดโลกร้อน หลายคนคงเคยกินอาหารในจานไม่หมดแล้วกวาดลงถังขยะ ทิ้งเศษผักผลไม้ในขั้นตอนเตรียมอาหาร ตุนอาหารทิ้งไว้จนเสียในตู้เย็น จนเกิดเป็นขยะอาหาร สถิติที่น่าตกใจคือมีปริมาณอาหาร 1 ใน 3 ของโลก ถูกทิ้งเป็นขยะ อาจลองสังเกตง่าย ๆ ว่าในแต่ละวันเราทิ้งอาหารเหลือจากแต่ละมื้อกันไม่น้อยเลย แล้วลองจินตนาการเป็นปริมาณที่คนทั้งโลกเหลือทิ้งรวมกัน มีมากถึง 1,300 ล้านตันต่อปี ซึ่งขยะอาหารเหล่านี้จะถูกฝังกลบหรือกองรวมกัน ในระหว่างกระบวนการย่อยสลายจะผลิตก๊าซมีเทนออกมา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของภาวะเรือนกระจก ร่วมกับการใช้ถุงหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้นจากวิถีชีวิตที่เน้นความสะดวกสบาย ยิ่งเป็นตัวเร่งสภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าเพียงเราทุกคนมีส่วนช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก เพียงหันมาใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อ การรักษาจัดเก็บ การเตรียมและทำอาหาร ก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะอาหารในครัวเรือน ลดการใช้พลาสติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม 5 วิธีง่าย ๆ ซึ่งช่วยเสริมสร้างสุขภาพจากพฤติกรรมการกินที่ดีของทั้งตัวเองและคนในบ้าน รวมถึงตอบโจทย์เรื่องการสร้างสุขอนามัยที่ดีภายในบ้านอีกด้วย 5 วิธีลดขยะง่าย ๆ เริ่มต้นได้ที่บ้าน 1. วางแผนจ่ายตลาดให้พอดี แนะนำให้วางแผนเมนูอาหารที่จะทำในแต่ละสัปดาห์ เช็ควัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีอยู่แล้ว แล้วจึงลิสต์รายการและปริมาณที่ต้องซื้อเพิ่มประจำวันหรือสัปดาห์เอาไว้พยายามซื้อของเฉพาะแค่ในรายการที่ต้องการ การวางแผนเช่นนี้สามารถช่วยป้องกันการซื้อของเกินความจำเป็นและลดปริมาณอาหารที่เหลือจากการบริโภค หรืออาหารที่หมดอายุให้กับครอบครัวได้ […]

1 3 4 5